เมนู

สพฺเพ สตฺตา สงฺขารฏฺฐิติกา
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ด้วยสังขาร
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหนึ่งนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบ
แล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรม
นั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืน ตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสังคีติหมวด 1

ว่าด้วยสังคีติหมวด 2



[227] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม 2 อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้
โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่ง
แย่งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรม 2 เป็นไฉน. คือ นาม และ รูป 1.
อวิชชา และ ภวตัณหา 1. ภวทิฏฐิ และ วิภวทิฏฐิ 1. อหิริกะ ความไม่
ละอาย และ อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัว 1. หิริ ความละอาย และ
โอตตัปปะ ความเกรงกลัว 1. โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก และ
ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว 1. โสวจัสสตา ความเป็นผู้ว่าง่าย และ
กัลยาณมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรดี 1. อาปัตติกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาด
ในอาบัติ และ อาปัตติวุฏฐานกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจาก

อาบัติ 1. สมาปัตติกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ และ สมาปัตติ-
วุฏฐานกุสลดา ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ 1. ธาตุกุสลตา
ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ และ มนสิการกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดใน
มนสิการ 1. อายตนกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ และ ปฎิจจ-
สมุปปาทกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท 1. ฐานกุสลตา ความ
เป็นผู้ฉลาดในฐานะ และ อัฏฐานกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในอัฏฐานะ 1.
อาชชวะ ความซื่อตรง และ มัททวะ ความอ่อนน้อม 1. ขันติ ความ
อดทน และ โสรัจจะ ความเสงี่ยม 1. สาขัลยะ การกล่าววาจาอ่อนหวาน
และ ปฏิสันถาร การต้อนรับ 1. อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน และ
โสเจยยะ ควานสะอาด 1. มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้มีสติหลงลืม และ
อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่รู้ตัว 1. สติ ความระลึกได้ และ สัมปชัญญะ
ความรู้ตัว 1. อินทริเยสุ อคุตตทวารตา ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย และ โภชเนอมัตตัญญุตา ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณใน
โภชนะ 1. อินทริเยสุ อคุตตทวารตา ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลาย และ โภชเนอมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ 1.
ปฏิสังขานพล กำลังการพิจารณา และ ภาวนาพล กำลังการอบรม 1.
สติพล กำลังคือสติ และ สมาธิพล กำลังคือสมาธิ 1. สมถะ และ
วิปัสนา 1. สมถนิมิต นิมิตที่เกิดเพราะสมถะ และ ปัคคหนิมิต นิมิตที่
เกิดเพราะความเพียร 1. ปัคคหะ ความเพียร และ อวิกเขปะ ความไม่
ฟุ้งซ่าน 1. สีลวิบัติ ความวิบัติแห่งศีล และ ทิฏฐิวิบัติ ความวิบัติแห่งทิฐิ 1.
สีลสัมปทา ความถึงพร้อมแห่งศีล และ ทิฏฐิสัมปทา ความถึงพร้อมแห่ง
ทิฐิ 1. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล และ ทิฏฐิวิสุทธฺ ความหมดจดแห่ง
ทิฐิ 1. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฐิ และ ทิฏฐิปธาน ความเพียร

ของผู้มีทิฐิ 1. สํเวโค จ สํเวชนีเยสุ ฐาเนสุ ความสลดใจในสถานที่
ควรสลด และ สํวิคฺคสฺส จ โยนิโส ปธานํ ความเพียรโดยแยบคายของผู้
สลดใจ 1. อสนฺตุฏฺฐิตา จ กุ เลสุ ธมฺเมสุ ความเป็นผู้ไม่สันโดษใน
กุศลธรรมทั้งหลาย และ อปฺปฏิวานิตา จ ปธานสฺมึ ความเป็นผู้ไม่ท้อถอย
ในความเพียร 1. วิชชา และ วิมุตฺติ 1. ขยญาณ ความรู้ในความสิ้นไป
และ อนุปฺปาทญาณ ความรู้ในความไม่เกิด 1. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย
ธรรม 2 นี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน
พึงสังคายนาไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น ฯ ล ฯ เพื่อความสุข แก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้.
จบสังคีติหมวด 2

ว่าด้วยสังคีติหมวด 3



[228] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม 3 อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้
โดยชอบมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนาในธรรมนั้น ฯลฯ
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
ธรรม 3 เป็น ไฉน. คือ

อกุศลมูล


1. โลภะ ความโลภ
2. โทสะ ความโกรธ